ตะไคร้หอม

ตะไคร้หอม

          ตะไคร้หอม  หรือบางท้องถิ่นเรียกว่าคะไคร้แดงหรือตะไคร้มะขูด เป็นพืชล้มลุก ที่มีหรัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นจะตั้งตรงและจะแตกออกมาเป็นกอ  ที่โคนจะเป็นกาบเป็นชั้นๆ เหมือนตะไคร้บ้าน ลำต้นเป็นสีแดงยาว สูงประมาณ 2 เมตร มีใบยาวกว่าตะไคร้บ้าน  ลักษณะใบแคบ ยาว 1 เมตร กว้าง 5 - 20 มิลลิเมตร  สีเขียว  ผิวเกลี้ยง มีกลิ่นหอมตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ   มีแผ่นรูปไข่ปลาปลายตัดยื่นอกมายาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีขนาดกาบหุ้มติดทน กาบล่างสุดเกยซ้อนกัน  เมื่อแห้งจะม้วนขึ้น ดอกออกเป็นช่อฝอยคล้ายดอกอ้อ ขนาดยาวประมาณ 2 ฟุต มีใบประดับคล้ายกาบรองรับอยู่ ตะไคร้หอมมี 2 พันธุ์ คือ
           -  ตะไคร้หอมพันธุ์ชวา ใช้เป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
           -  ตะไคร้หอมพันธุ์ศรีลังกา ใช้เป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

          ในตะไคร้หอม มีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญได้แก่ ไซโทรเนเลล ไซโทรเนลอล เจอรานิออล  นอกจากนี้ยังมีสารสำคัญอื่นๆ คือ เจอรานิเอล พีนีนลิโมนีน บอร์นีออล คูมาริน

          สารเหล่านี้ประสิทธิภาพในการไล่แมลงศัตรูพืช เช่น หนอนใยผัก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาวและแมลงในโรงเก็บ สามารถไล่ยุงและแมลงวัน รวมทั้งกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรีย

          การใช้ตะไคร้หอมป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทำได้ดังนี้

          1)  นำใบและต้นผึ่งลมจนแห้ง แล้วบดละเอียด นำมาโรคโคนต้น หรือคลุกเมล็ดธัญพืช ใช้ไล่แมลง
          2)  ใบตะไคร้หอมบดละเอียด 400 กรัม แช่น้ำ 8 ลิตร ทิ้งไว้ค้างคืน กรองเอากากออกนำมาฉีดพ่น สามารถไล่หนอนไยผัก
          3)  ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม ผสมสะเดาบด 2 กิโลกรัมต่อน้ำ 75 ลิตร       สกัดโดยใช้เครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชพลังงานแสงอาทิตย์ 1 วัน  โดยใส่เมล็ดสะเดาบด เมื่ออุณหภูมิของน้ำในหม้อต้มต่ำกว่า 50 องศาเซลเซียส  เพื่อป้องกันการสลายตัวของสารอาซาไดเรคติน  รุ่งเช้า  ไขน้ำออก นำน้ำไปฉีดพ่นไล่แมลง

          ข้างต้นนี้ เป็นเพียงตัวอย่างของพืชสมุนไพร และพืชพื้นบ้านบางชนิดที่สามารถนำส่วนต่างๆ มาใช้ในการป้องกันกำจัด หรือควบคุมศัตรูพืชได้ สามารถทำได้ง่ายๆ  แต่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะไล่แมลงหรือกำจัดแมลง  และโรคพืชได้เป็นอย่างดี  ใช้แล้วไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค ราคาไม่แพง

สมุนไพร่กำจัดศัตรูมะนาวพวกสัตว์แมลง

เพลี้ยไฟ - ยางมะละกอ สะเดา สาบเสือ ยาสูบ หนอนตายหยาก กระเทียม
หนอนผีเสื้อต่างๆ - มันแกว หนอนตายหยาก สะเดา คูน
หนอนแก้ว - ใบมะเขือเทศ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม
หนอนกัดใบ - ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม
หนอนม้วนใบ - ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม


สมุนไพรไล่แมลง เป็นพืชที่มีส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล ที่มีสารออกฤทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

  • ผลทางตรง       จะมีผลกระทบต่อระบบประสาท และระบบหายใจ ทำให้แมลงตายทันที
  • ผลทางอ้อม      จะมีผลต่อระบบอื่น ๆ โดยการไปยับยั้งการกินอาหาร การลอกคราบ การเจริญเติบโตของแมลง



การใช้สมุนไพรไล่แมลงหรือกำจัดศัตรูพืชควรใช้ให้เหมาะสม คือ   เลือกใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพรในช่วงเวลาที่เหมาะสม  ดังนี้

  • ดอก     ควรเก็บในระยะดอกตูมเพิ่งจะบาน
  • ผล       ควรเก็บในระยะที่ผลยังไม่สุก เพราะสารต่างยังไม่ถูกส่งไปเลี้ยงเมล็ด
  • เมล็ด    ควรเก็บในระยะที่ผลสุกงอมเต็มที่ ซึ่งจะมีระยะที่เมล็ดแก่เต็มที่ และจะมีสารต่าง ๆ สะสมอยู่ในปริมาณมาก
  • หัวและราก    ควรเก็บในระยะที่เริ่มมีดอก เพราะระยะนี้ต้นพืชจะมีการสะสมสารต่าง ๆ ไว้ที่รากและควรเก็บในฤดูหนาวปลายฤดูร้อน เพราะเป็นช่วงที่กระบวนสังเคราะห์แสงหยุดทำงาน
  • เปลือก  ควรเก็บก่อนที่จะมีการผลิใบใหม่และควรเก็บในฤดูร้อนและฤดูฝน

ดังนั้นก่อนที่จะนำสมุนไพรแต่ละชนิดมาในในการป้องกันกำจัดหรือไล่แมลงศัตรูพืช ควรมีการศึกษาหาข้อมูลให้ดีเสียก่อนว่าจะนำส่วนไหนมาใช้และใช้ในช่วงเวลาใดจึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันกำจัดแมลง  เพราะบางคนรู้เพียงว่าใช้พืชตัวนั้นตัวนี้ในการป้องกันกำจัดแต่ไม่ทราบว่าใช้ส่วนใดเวลาใดจึงจะเกิดประสิทธิภาพดีที่สุด    ในตอนต่อไปผู้เขียนจะได้กล่าวถึงพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการป้องกันกำจัดโรคพืชและวิธีการทำน้ำสมุนไพรไล่และป้องกันกำจัดศัตรูพืช(ทั้งโรคและแมลง)ด้วยสูตรต่างๆกัน

สะเดา

         เกษตรกรไทย รู้จักนำสารสกัดจากพืชมาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชมานานแล้ว ถือเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน แม้ในช่วงเวลาหนึ่ง  จะมีสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเข้ามาทดแทน เพราะใช้ได้สะดวก และเห็นผลรวดเร็วทันใจ     แต่ในยุคนี้ที่หลายฝ่ายตระหนักเรื่องความปลอดภัยของสุขอนามัย  และสิ่งแวดล้อม มีการรณรงค์ให้ลดปริมาณการใช้สารเคมีลง   สารสกัดจากพืชจึงกลับมามีบทบาทในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแทนสารเคมีอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย

          กรมวิชาการเกษตร โดยสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ได้เห็นความสำคัญในการลดการใช้สารเคมี และสนับสนุนให้มีการใช้สารสกัดจากพืชแทนการใช้สารเคมี จึงได้ศึกษาวิจัย นำพืชสมุนไพร หรือพืชพื้นเมืองที่มีศักยภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช มาใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช  ซึ่งนอกจากจะปลอดภัยต่อผู้ใช้คือเกษตรกรแล้ว ยังปลอดภัยต่อผู้บริโภค   ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และราคาถูกกว่าสารเคมีด้วย จึงขอแนะนำพืชบางชนิดที่สามารถนำมาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ เช่น สะเดา  สาบเสือ  หนอนตายหยาก  ขมิ้นชัน ข่า และตะไคร้หอม เป็นต้น


สะเดา

          สะเดา เป็นพืชยืนต้น วงศ์เดียวกบมะฮอกกานี ในประเทศไทยมีสะเดา 3 ชนิด คือ

          -  สะเดาอินเดีย    ลักษณะขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย  แหลม  โคนใบเบี้ยว  ปลายใบแหลมเรียว  ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอด ดอกสีขาว
มีกลิ่นหอม ปกติจะออกดอกปีละครั้งประมาณเดือนมีนาคม – เมษายน และผลจะสุกประมาณเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม

          -  สะเดาไทย   ใบจะโตกว่าสะเดาอินเดีย สีเขียวเข้ม หนา และทึบ ขอบใบหยักน้อย ดอกสีขาว ออกดอกเดือนธันวาคม – มกราคม ผลจะสุกในเดือนเมษายน – พฤษภาคม
         -  สะเดาช้าง หรือไม้เทียม ต้นสูง 30-40 เมตร  ใบเป็นช่อ ก้านใบยาว ใบย่อยมีรูปทรงเป็นรูปหอกแกมใบมน ปลายใบค่อนข้างแหลม เป็นกิ่งสั้นๆ ฐานใบเบี้ยวไม่เท่ากัน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย สีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อยาว สีขาวอมเขียวอ่อน ออกดอกเดือนมีนาคม และผลจะสุกในเดือนพฤษภาคม   เป็นไม้โตเร็วที่พบมากในภาคใต้ของไทย     ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป      สะเดามีสาระสำคัญ คือ อาซาไดแรคติน  ซาแลนนิน เมเลีย ไตรออล และนิมบิน สารเหล่านี้มีประสิทธิภาพดังนี้
          -  ยับยั้งการลอกคราบของแมลง โดยไปขัดขวางและยับยั้งการสร้างฮอร์โมนที่ใช้ในการลอกคราบ
          -  ยับยั้งการกินอาหารชนิดถาวร จนทำให้แมลงตายในที่สุด
          -  ยับยั้งการเจริญเติบโตของไข่ หนอน และดักแด้
          -  เป็นสารไล่แมลง
          -  ยับยั้งการวางไข่ของแมลง ทำให้ปริมาณไข่ลดลง
          -  สารสกัดจากสะเดา สามารถป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชต่างๆ ดังนี้
วิธีใช้
           * เมล็ดสะเดาบดละเอียดอัตรา 1,000 กรัม  ต่อน้ำ 20 ลิตร  แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน   กรองเอาส่วนน้ำไปพ่นในแปลงปลูกพืช (ใช้ได้ผลในแปลงปลูกที่ศัตรูพืชระบาดไม่รุนแรง  และหนอนมีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงไม่มาก   ควรพ่นก่อนมีการระบาด หรือมีการระบาดเพียงเล็กน้อย และพ่นติดต่อกันไปทุก 7 วัน ในแหล่งที่ระบาดอย่างรุนแรง)
           **  เมล็ดสะเดาบดละเอียดอัตรา 20 กิโลกรัม ต่อไร่ (หว่านรอบต้นในอัตรา 2.5 กรัมต่อหลุม   สามารถที่จะกำจัดตัวอ่อนของด้วงหมัดผักที่อาศัยอยู่ในดินได้ดี ส่วนตัวเต็มวัย ที่ทำลายส่วนใบ สารสกัดสะเดาไม่สามารถป้องกันกำจัดได้)

หนอนชอนใบในมะนาว

หนอนชอนใบ เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ความกว้างขณะกางปีกออก เพียง 0.8 มิลลิเมตร เท่านั้น เพศเมียตัวเต็มวัยหลังผสมพันธุ์แล้ว บินมาวางไข่ที่ผิวใบอ่อนของมะนาว ที่มีอายุ 1-7 วัน ไข่มีขนาดเล็กกว่าหัวเข็มหมุด หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็น รูปร่างกลมรี สีเหลืองใส ไข่ฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 3 วัน แล้วเจาะเข้าไปชอนไชภายในใบอ่อนมะนาวเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงและเซลล์อ่อนของใบระยะเป็นตัวหนอน 7-10 วัน จากนั้นจะเข้าดักแด้เป็นเวลา 5-10 วัน อยู่ในใบมะนาว ก่อนฟักออกเป็นผีเสื้อตัวเต็มวัย ลักษณะการทำลาย มองเห็นเป็นทางสีขาว คดเคี้ยวไปมาตามทางที่ตัวหนอนเคลื่อนผ่าน ต่อมาใบจะหงิกงอ การระบาดรุนแรง ใบและต้นมะนาวแคระแกร็น การระบาดเกิดขึ้นได้ตลอดปี แต่มักระบาดรุนแรงระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนกันยายน นอกจากหนอนชอนใบเข้าทำลายมะนาวแล้ว ยังสามารถเข้าทำลายได้ทั้งส้มโอ ส้มเขียวหวาน และมะกรูด ประการสำคัญ หนอนชอนใบยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการระบาดของโรคแคงเกอร์อีกด้วย
การป้องกันกำจัด เมื่อพบการระบาดระยะแรก ให้เด็ดใบอ่อนที่หนอนชอนใบเข้าทำลาย นำไปเผาไฟไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนอนชอนใบอีกต่อไป แล้วฉีดพ่นด้วยอิมิดาโคลพริด หรือ อะบาเม็กติน อัตรา 16 ซีซี และ 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ชนิดใดชนิดหนึ่งให้ทั่วทั้งทรงพุ่ม เมื่อผ่านช่วง 7 วัน ไปแล้ว ใบเริ่มแก่หรือเข้าวัยที่เรียกว่า ใบเพสลาด การระบาดของหนอนชอนใบจะไม่ปรากฏให้เห็นอีกต่อไป

สูตรป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากแบคทีเรียและเชื้อรา

สูตรป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากแบคทีเรียและเชื้อรา

ส่วนประกอบ
          ให้นำสาบเสือ สะเดา เปลือกแค กะเพรา โหระพา พริก มะรุม(ทั้งใบและเปลือก) รวมกันเป็น 1 ส่วน เศษพืชผักกินได้หรือวัชพืช 1 ส่วน ผลไม้สดอีก 1 ส่วน รวมทั้งหมด 3 กิโลกรัมและกากน้ำตาล

วิธีทำ
          นำพืชสมุนไพรผสมกับผัก วัชพืช และผลไม้สดบดให้ละเอียดแล้วหมักในถุงพลาสติกขนาด 20 ลิตร ใส่กากน้ำตาล 1.5 ลิตร คลุกเคล้าให้เข้ากันปิดฝาพอมิด เก็บไว้ในที่เย็นจากนั้นจึงหมั่นคนให้เศษพืชกับกาน้ำตาลเข้ากันดี 3วัน/ครั้ง ระหว่างนั้นให้สังเกตถ้ามีฟองอากาศเกิดขึ้นมีกลิ่นหอมเหมือนเหล้าไวน์ครบ 7 วันก็ใช้ได้

วิธีใช้
          อัตราการใช้ 20 ซีซีต่อน้ำ 2 ลิตร พ่นทางใบ หากใช้ทางรากใช้ 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

สูตรป้องกันเชื้อราหรือไร

สูตรป้องกันเชื้อราหรือไร

ส่วนประกอบ
          1. สารอีเอ็ม 1 ลิตร
          2. กากาน้ำตาล 1 ลิตร
          3. ตะไคร้หอม 2 กิโลกรัม
          4. ข่าแก่ 2 กิโลกรัม
          5. ใบและเมล็ดสะเดา 2 กิโลกรัม

วิธีทำ
          นำตะไคร้หอม ข่า สะเดา โขลกให้ละเอียดใส่พอคั้นน้ำได้ แล้วคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำสมุนไพรประมาณ 3 กิโลกรัม จากนั้นนำสารอีเอ็มผสมกากน้ำตาล ผสมลงในน้ำสมุนไพร ปิดฝาภาชนะหมักทิ้ง 3 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาสมุนไพรที่ได้ไปฉีดพ่น (เก็บไว้ใช้ได้นานประมาณ 3 เดือน)

วิธีใช้
          ใช้ 0.5 ลิตร ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นไม้ทุก 3 วัน

สูตรป้องกันกำจัดเชื้อรา แอนแทร็คโนส

สูตรป้องกันกำจัดเชื้อรา แอนแทร็คโนส

ส่วนประกอบ
          1. ว่านน้ำ (ต้น ใบ เหง้า) 1 กิโลกรัม
          2. แอลกอฮอล์ 1 ขวด (เหล้าแม่โขง)
          3. เปลือกมังคุด 1 กิโลกรัม (เอาเฉพาะเปลือก)
          4. หมากดิบสดเนื้อใน 0.5 กิโลกรัม
          5. ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
          6. กากาน้ำตาล 100 ซีซี (หรือ 10 ช้อนชา)
          7. สารอีเอ็ม 100 ซีซี (หรือ 10 ช้อนชา)

วิธีทำ
          1. นำว่านมาทุบให้แตก แล้วแช่ในแอลกอฮอล์ 1 คืน
          2. นำหมากดิบๆหั่นบางๆต้มน้ำ 2 ลิตร เทแช่ไว้ 1 คืน
          3. นำเปลือกมังคุด มาต้มในน้ำ 2 ลิตร เคี้ยวให้เหลือ 1 ลิตร
          4. นำตะไคร้หอมทุบเล็กน้อย และกากน้ำตาลมาแช่ในน้ำ 5 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วเอาส่วนผสมทั้งหมดมาแช่รวมกัน หมักต่อไปอีก 15 วัน กรองเอากากทิ้งแล้วจึงนำไปใช้ได้

วิธีใช้
          น้ำหมักสมุนไพรที่ได้ 150 ซีซี (หรือ 15 ช้อนโต๊ะ) ผสมสารอีเอ็ม 100 ซีซี (หรือ 10 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นไม้ ประมาณ 5-6 วันต่อครั้ง

สมุนไพรป้องกันกำจัดเชื้อรา1

สมุนไพรป้องกันกำจัดเชื้อรา

ส่วนประกอบ
          เปลือกแค เปลือกไข่ หมากสด เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ เปลือกทับทิม ใบยาสูบ ใบเสือหมอบ แสยก ขาไก่ หน่อไม้ ใบยูคาลิปตัส กระเทียม ดอกก้านพลู ชะพลู ใบมะขามเทศแก่ เมล็ดมันแกว รากหม่อน บอระเพ็ด ตะไคร้หอม กล้วยดิบ ลูกตะโกดิบ ลูกมะพลับ เมล็ดสบู่แดง

วิธีทำ
          1. นำสมุนไพรทั้งหมดที่เตรียมไว้อย่างละเท่ากันมาสับหรือโขลกให้ละเอียดพอประมาณ จากนั้นเติมน้ำลงไปให้พอท่วม แล้วเติมกากน้ำตาลลงไปพอประมาณ
          2. ทำการหมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน แล้วจึงนำไปใช้ในอัตรา 40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

สูตรสมุนไพรกำจัดหนอนและเพลี้ยต่างๆ

สูตรสมุนไพรกำจัดหนอนและเพลี้ยต่างๆ

ส่วนประกอบ
          เถาหรือต้นหางไหลชนิดยางสีแดง น้ำเปล่า เหล้าขาว 1-2 ขวด หัวน้ำส้มสายชู 150 ซีซี

วิธีทำ
          นำเถาหรือต้นหางไหลมาสับเป็นท่อนหรือชิ้นเล็กๆใส่ถังไฟเบอร์ขนาด 200 ลิตร ใส่น้ำเปล่าจนเต็มเติมเหล้า 1-2 ขวด หัวน้ำส้มสายชู 150 ซีซี คนให้เข้ากัน ใช้ฝาปิดให้มิดชิดเพื่อป้องกันน้ำฝน ทิ้งไว้ 7-10 วัน ขะได้เชื้อสกัดหางไหล

วิธีใช้
          ใช้หัวเชื้อ 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชทุก 7-10 วัน จะสามารถกำจัดศัตรูพืชประเภทหนอนได้ทุกชนิด ตลอดจนเพลียต่างๆได้ หากใช้เงิน 4 เดือนไปแล้ว เมื่อนำหมักยุบให้เติมน้ำใหม่พร้อมกับใส่เหล้าขาวหัวน้ำส้มสายชูเติมทับไปเรื่อยๆจนทำให้ได้น้ำหมักที่คุณภาพยังคงเดิม

สูตรสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงและเพลี้ยไฟ

สูตรสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงและเพลี้ยไฟ

ส่วนประกอบ
          ได้แก่ สาบเสือ ขิงแก่ ข่าแก่ ตะไคร้ หนอนตายหยาก พริกไทย บอระเพ็ด กระเพรา กระชาย หางไหลขาว หางไหลแดง ดีปลี พริก ใบสะเดาแก่  เทียนทอง(ใบ,ผล) ลำโพง(ต้นใบ)

วิธีทำ
          1. นำสมุนไพรทั้งหมดมาอย่างละเท่ากัน โขลกให้ละเอียดพอประมาณ แล้วเติมน้ำลงไปใส่พอท่วม
          2. เติมเหล้าขาว 1 ขวด น้ำส้มสายชู 2 ขวดกระทิงแดง
          3. นำมะนาวผ่าซีกและมะกรูดผ่าซีก (20ผล) ลงไปหมักด้วย
          4. จากนั้นนำการหมักไว้ประมาณ 2 คืน แล้วจึงนำมาใช้ในอัตราส่วน 20-30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร